ASD Montreal Health,Medical อันตรายจากยาคุมฉุกเฉิน

อันตรายจากยาคุมฉุกเฉิน

ยาคุมฉุกเฉิน

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (emergency contraceptive pills, morning-after pills) เป็นยาเม็ดฮอร์โมนขนาดสูงที่รับประทานหลังจากมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดโอกาสที่จะตั้งครรภ์ การคุมกำเนิดวิธีนี้จะให้ประสิทธิภาพภายใน 2 – 3 วัน โดยจะไปรบกวนการตกไข่ หรือรบกวนการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิแต่หากได้รับการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนแล้ว จะไม่สามารถป้องกันได้ “ยาคุมฉุกเฉิน” ให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูง แต่สิ่งที่หลายคนไม่เคยรู้ ก็คือการกินยาคุมฉุกเฉินบ่อยๆและต่อเนื่องเป็นเวลานานนั้นอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเชิงลบได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว

ข้อควรรู้ก่อนกินยาคุมฉุกเฉิน

  1. ยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อได้ ยาชนิดนี้มีประโยชน์ในการป้องกันการตั้งครรภ์เท่านั้น ไม่สามารถป้องกันโรคจากเพศสัมพันธ์ได้ หากต้องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรใช้วิธีสวมถุงยางอนามัยจะดีที่สุด 
  2. ยาคุมฉุกเฉินเป็นยาทำแท้งเป็นความเข้าใจที่ผิด ยาคุมฉุกเฉินสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้เท่านั้น  นั่นคือต้องได้ยาเข้าไปในร่างกายก่อนที่จะมีการฝังตัวของไข่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก แต่หากไข่ที่ผสมกับอสุจิได้ฝังตัวที่ผนังมดลูกไปแล้ว ยานี้จะทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นยานี้จึงไม่ใช่ยาทำแท้ง 
  3. ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมีผลข้างเคียงสูงมาก ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินจะออกฤทธิ์ต่อสภาพแวดล้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก จึงมีผลต่อฮอร์โมนและทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวผู้ใช้ เช่น มีประจำเดือนผิดปกติ คลื่นไส้อาเจียน และหากกินบ่อยๆ อาจเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูกได้ 
  4. ความเข้าใจว่ายาคุมฉุกเฉินอาจทำให้ทารกพิการได้หากรับประทานไปโดยไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้มีรายงานว่าไม่พบทารกพิการจากมารดาที่รับประทานยาโดยที่ไม่ทราบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ 
  5. การรับประทานยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์ดังกล่าวตามด้วยยาเม็ดที่สอง จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75% แต่หากเริ่มยาภายใน 24 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์ จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเป็น 85% ดังนั้นจึงควรรับประทานยาเม็ดแรกหลังการมีเพศสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด 
  6. ยาคุมฉุกเฉินเพื่อคุมกำเนิดระยะยาวได้ ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้อง หากสามีภรรยาที่ยังไม่พร้อมมีบุตรแต่ต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว มีวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากกว่าเช่น การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบปกติชนิดเม็ด โดยรับประทานทุกวันวันละ 1 เม็ด นอกจากนี้การรับประทานยาคุมฉุกเฉินเป็นประจำจะพบอาการข้างเคียงสูง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกกะปริดกะปรอย รวมทั้งพบความเสี่ยงในการเกิดอุบัติการณ์การตั้งครรภ์นอกมดลูกเพิ่มขึ้น 
  7. ยาคุมฉุกเฉินไม่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ครั้งใหม่ และไม่มีผลทำให้การตั้งครรภ์ครั้งถัดไปช้าลง 

Related Post

เก้าอี้พักผ่อน

เก้าอี้พักผ่อน: ศูนย์กลางความสงบสุขในบ้านเก้าอี้พักผ่อน: ศูนย์กลางความสงบสุขในบ้าน

ในยุคที่ชีวิตมีความเร่งรีบและเต็มไปด้วยความกดดัน การมีที่นั่งพักผ่อนที่สบายจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เก้าอี้พักผ่อนนั้นไม่ใช่เพียงแค่เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางแห่งความสงบสุขที่เราสามารถเติมพลังให้กับตัวเองได้อย่างลึกซึ้ง โดยเก้าอี้พักผ่อนคือที่ที่สามารถใช้เวลาในการดื่มด่ำกับบรรยากาศที่สงบและเงียบสงัด ในขณะที่ รู้สึกเหมือนได้พักผ่อนจากความวุ่นวายจากชีวิตประจำวัน แม้เพียงแค่ชั่วขณะของความรู้สึก  เก้าอี้พักผ่อน มากกว่าเพียงแค่เฟอร์นิเจอร์ นอกจากการอ่านหนังสือแล้ว เก้าอี้พักผ่อนยังสามารถใช้เป็นที่พักผ่อนในหลากหลายรูปแบบ เช่น การนั่งสมาธิ การฟังเพลง หรือแม้แต่การนอนพักผ่อนด้วยอิริยาบถที่สบายๆ ในเวลาว่างเปรียบเสมือนการทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ “ในบ้านของผม เก้าอี้พักผ่อนกลายเป็นจุดศูนย์กลางของห้องนั่งเล่น เป็นจุดที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมาพักผ่อนและผ่อนคลายได้ เมื่อเหนื่อยล้าจากการทำงาน หรือแม้แต่เมื่อต้องการเวลาส่วนตัว” เลือกเก้าอี้ที่เหมาะสมกับตัวเอง การเลือกเก้าอี้พักผ่อนที่เหมาะสมก็เป็นเรื่องสำคัญ ควรพิจารณาถึงขนาด รูปแบบ และวัสดุที่ใช้ในการผลิต เพื่อให้ได้เก้าอี้ที่ช่วยส่งเสริมความสบายและความผ่อนคลายสูงสุด นอกจากนี้ ควรเลือกสีและดีไซน์ที่เข้ากับสไตล์การตกแต่งบ้านของเรา

คลินิกปรึกษามีบุตรยาก

วิธีรักษาภาวะมีบุตรยากวิธีรักษาภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก เป็นภาวะที่คู่สามีภรรยามีเพศสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องประมาณสัปดาห์ละ 3-4 ครั้งโดยไม่ได้คุมกำเนิด แต่ก็ยังไม่เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น คู่สามีภรรยาที่อายุต่ำกว่า 35 ปีจะวินิจฉัยว่าเกิดภาวะมีบุตรยาก หากพยายามมีเพศสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่เกิดการตั้งครรภ์มา 1 ปีขึ้นไป ส่วนคู่สามีภรรยาที่ฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปีจะนับที่ 6 เดือนนับตั้งแต่พยายามมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเพื่อมีบุตร ซึ่งในปัจจุบันมีนวัตกรรมการรักษาภาวะมีบุตรยากเริ่มพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ในคู่รักที่รักษาภาวะมีบุตรยากมีมากขึ้น วันนี้เรามาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้าง 1. การใช้ยา เป็นการให้ยากระตุ้นการตกไข่ กรณีที่ไข่ไม่ตก หรือหรือไข่ไม่สมบูรณ์พอจะปฏิสนธิได้ ยาสำหรับรักษาภาวะมีบุตรยากมักแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบฉีด

ดูแลปอดให้แข็งแรง

ดูแลปอดให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคร้ายดูแลปอดให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคร้าย

เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด19 ในปัจจุบันนี้ทำให้ใครหลายคนเป็นกังวลกับปอดของตนเองเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากใครที่ติดเชื้อแล้วอาจส่งผลให้เชื้อลงปอดและทำให้ปอดเสียหายได้ ซึ่งปอดนั้นถือได้ว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายไม่แพ้หัวใจเลย ปอดเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการหายใจเข้าและออก ทำการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่ระบบเลือดภายในร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย นอกจากนี้ปอดยังทำหน้าที่ในการขับของเสียออกมาในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำผ่านลมหายใจเข้าออกอีกด้วย ดังนั้นการมีปอดที่ไม่แข็งแรงจึงเป็นที่มาของการมีร่างกายที่ไม่แข็งแรงตามไปด้วย โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการดูแลปอดของเรากันว่ามีวิธีการดูแลปอดอย่างไรให้ปอดแข็งแรงและอยู่กับเราไปนาน ๆ  วิธีการดูแลปอดให้แข็งแรง มาดูการว่าในการดูแลปอดของเราให้แข็งแรงนั้นมีวิธีการดูแลอย่างไรกันบ้าง เราสามารถดูแลปอดของตนเองให้แข็งแรงได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง จากวิธีการที่ได้กล่าวไปข้างต้นนี้ ซึ่งการจะมีสุขภาพที่แข็งแรงได้ปอดของเราก็ต้องแข็งแรงก่อน ดังนั้นควรรักษาปอดของตนเองให้ดี ให้ปราศจากโรคภัยต่าง ๆ